เที่ยวเขื่อนเชี่ยวหลาน อุทยานเขาสก

 
ChiewLarn

เขื่อนรัชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 2,598 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง

เขื่อนรัชประภา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530 เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า ?เขื่อนรัชประภา? มีความหมายว่า ?แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร? พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530
ประโยชน์

ด้านพลังงานไฟฟ้า มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ส่งพลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ด้วยสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี ไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร และขนาด115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร


การชลประทานเพื่อการเพาะปลูก

ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนให้ประโยชน์

ต่อการเพาะปลูกพืช บริเวณสองฝั่งแม่น้ำ

ในตอนล่าง เป็นผลให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ผลดีบรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี

การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจากเขื่อนสามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึงปีละ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ในฤดูแล้งลำน้ำตาปี-พุมดวงมีปริมาณน้ำลดลง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มหนุนขึ้นมา น้ำที่ปล่อยจากเขื่อน รัชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และผลักดันน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
WELCOME  Khaosok National Park

"เขาสก" เดิมชาวบ้านเรียกที่นี่ว่า "บ้านศก" ก่อนหน้านั้นเรียกว่า "บ้านศพ" ต.คลองศก อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี คนเก่าแก่เล่าว่าเหตุที่เรียกว่า บ้านศพนั้น สมัยก่อนเป็นหมู่บ้าน กลางป่าไม่สามารถติดต่อกับที่ไหนได้เลย ในสมัยรัชกาลที่ 2 พม่ายกทัพมาตีตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ฉลาง (ภูเก็ต) ชาวบ้านหนีเข้าป่าขึ้นเขานมสาวเขาสก แล้วมาตั้งบ้านเรือนเพื่อ ทำมาหากินปลูกพืชหาปลาล่าสัตว์ ต่อมาเกิดโรคระบาด ชาวบ้านตายเป็นจำนวนมาก บ้านศกจึงกลายเป็นบ้านร้าง ในปี พ.ศ.2504 บริษัทมหาไทยได้ตัดถนนจาก อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ไปยัง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ผ่านบ้านศก และเขาสก คนงานนับพันคนได้ สร้างบ้านพักที่เชิงเขาพันธุรัตน์และล่าสัตว์โดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย ประกอบกับการเดิน ทางไปมาที่สะดวก ชาวบ้านจาก จ.นครศรีธรรมราช ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา เริ่มพากันมาจับจองที่ดินมีการตัดไม้ทำลายป่า ขอประทานขุดแร่ และสัมปทานป่าไม้ ป่าไม้และสัตว์ป่าลดลงเรื่อย ๆ

 

ในปี พ.ศ.2519 มีการสำรวจสภาพภูมิประเทศและสภาพป่าทางเครื่องบินพบว่า ป่าโครง การไม้กระยาเลย คลองแสง คลองหยี เกือบทั้งหมดเป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะป่า บริเวณเขาสกเป็นป่าที่สมบูรณ์ มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำ ตาปี มีสัตว์ป่าชุกชุมทั้งยังไม่เคยผ่านการทำไม้มาก่อน น่าจะกำหนดให้เป็นอุทยาน แห่งชาติเพื่อจะได้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลายไปหรือเปลี่ยนสถาพไป เป็นประโยชน์ในการท่องเที่ยว และการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติมีมติเห็นชอบ ให้ป่าบริเวณคลองหยีและคลองพระแสงในท้องที่ ต.ไกรสร ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน และ ต.คลองศก ต.พนม อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523 ครอบคลุมพื้นที่ 645.52 ตร.กม. หรือ 403,450 ไร่ ปัจจุบันได้มีการผนวกพื้นที่ อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภา ซึ่งอยู่ในท้องที่ ต.ตะกุกเหนือ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 2 สิงหาคม 2537 รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 738.74 ตร.กม. หรือ 461,712.5 ไร่ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 22 ของประเทศไทย


News Update

อุทยานแห่งชาติเขาสก มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอพนมและอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสภาพพื้นที่เป็นธรรมชาติอันกว้างใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน พื้นที่ราบมีน้อย พื้นที่ส่วนหนึ่งด้านทิศเหนือบริเวณคลองพระแสงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน) ประกอบไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด อุทยานแห่งชาติเขาสกมีเนื้อที่ประมาณ 738.74 ตารางกิโลเมตร หรือ 461,712.5 ไร่ ได้มีการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาดินและภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน โดยเฉพาะช่องแคบเขากาเลาะ มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนที่มียอดแหลมระเกะระกะ มีแนวหน้าผาสูงชันบางแห่งเป็นแท่งสูงขึ้นไปในอากาศคล้ายหอคอยสูง ที่ราบมีไม่มาก มีสภาพป่าเป็นป่าดงดิบที่สมบูรณ์มากเป็นป่าต้นน้ำ ลำธารของแม่น้ำตาปี จุดสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 960 เมตร โดยเฉลี่ยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 เมตร และลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทรายมีสีแดง บางแห่งเป็นดินลูกรังแต่มีส่วนน้อย

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,385
Today:  3
PageView/Month:  28

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com